DB PuiMake

พอเริ่มตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า ‘จะปรับปรุง DB FongNam ให้ดูผ่อนคลายขึ้นได้อย่างไร?’ สิ่งแรกที่ผมนึกขึ้นมาได้ คือ ต้องลองทําปลายเส้นตัวอักษรของ ‘ฟองน้ํา’ ให้มนดู ทั้งตัวปรกติ (Regular) และตัวหนา (Bold). หลังจากลองทํา ‘ฟองน้ํา’ ให้ปลายมนดูแล้วกลับพบว่า มันไม่มากพอที่จะสร้างความรู้สึกใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้! เหตุผลแรกคือ DB FongNam เดิมมีน้ําหนักเส้นตัวปรกติค่อนข้างบาง ขณะที่ตัวหนาก็ไม่ค่อยหนานัก จึงทําให้เราแทบไม่สังเกตเห็นปลายที่ถูกทําให้มนแม้จะใช้ที่ขนาด 48 ปอยต์ก็ตาม. เหตุผลที่สอง (ซึ่งอาจสําคัญกว่า) คือ DB FongNam เป็นฟอนต์ตัวเนื้อของไทยตัวแรกๆ ที่ออกแบบขึ้นใหม่ในยุคต้นของตัวพิมพ์ดิจิตอล ซึ่งสามารถใช้งานได้เหมาะสม ทั้งแบบเป็นทางการ (เพราะความเป็นระบบระเบียบของมัน) และแบบไม่เป็นทางการ (เพราะรูปทรงเรขาคณิตและความ เรียบง่ายของมัน) จึงทําให้ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางจนเป็นที่คุ้นเคยสายตาคนไทยมาก. ดังนั้น วิธีที่จะ ‘ปรับปรุง สายพันธุ์ใหม่’ เพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยใหม่ จึงจําเป็น ต้องทําอะไรที่มากกว่าปลายเส้นมน. สิ่งที่ผมตัดสินใจทําเพิ่มทั้งหมดจนจบเรียกรวมๆ ว่า ‘การทําให้โปร่งขึ้น’ มีรายละเอียดย่อๆ ประมาณนี้

  • ตัวอักษรที่มีเส้นล่างเป็นเส้นตรงของ ‘ฟองน้ํา’ เช่น บ, อ, ย ฯลฯ ถูกแก้เส้นล่างโค้งครึ่งวงกลมเป็น บ, อ, ย
  • ตัว ข, ช, ช เดิม ถูกขยายระยะความกว้างระหว่างเส้นหน้าเส้นหลังขึ้นเล็กน้อย แล้วเปลี่ยนเส้นล่างเป็นโค้ง เช่นกันเป็น ข, ช. ซ. โดยเฉพาะตัว ซ ลองเปิดหัวกลมออกเป็น ซ เพื่อเผยให้เห็นหยักชัดเจนขึ้นไม่สับสนกับ ช ในขนาดตัวพิมพ์จิ๋วๆซึ่งฟอนต์ทั่วไปมักสับสนกัน
  • ตัว ร, ธ, ฐ เดิม เปลี่ยนเส้นตรงแนวระดับให้เทลาดมาทางขวามือเป็น ร, ธ. ฐ
  • ตัว ท, พ, ห ฯลฯ ลดความทึบที่เส้นฐานอย่างง่ายๆ โดยการเลื่อนปลายล่างของเส้นทแยงจากเดิมซึ่งอยู่บนเส้นฐานให้สูงขึ้นเป็น ท. พ. ห
  • ตัว ง. จ. น, ม ฯลฯ เดิม เพิ่มส่วนโค้งเล็กๆ ให้มุมที่ฐานเป็น ง, จ. น, ม
  • ตัว ก (และตัวอักษรคล้ายของมัน) ซึ่งมีปากทแยง เป็นเอกลักษณ์ของ “ฟองน้ํา" ถูกแก้ปากให้โค้งเป็น ก เพื่อความกลมกลืนกับตัวอื่นๆ
  • ตัว ค, ด, ต เดิม ถูกขยายความกว้างเล็กน้อยแล้วลดระดับส่วนหัวให้ต่ำลงเป็น ค. ด, ต เพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างภายใน
  • ตัว ส, ศ เดิม มีหางลากจากภายในลําตัว ทําให้โปร่งขึ้น โดยแก้หางให้ลากจากเส้นบนโค้งเลยเส้นหลังออกไป เป็น ส, ศ (หางที่เยื้องออกไปจากเส้นหลังเมื่อมีสระ กํากับในขนาดปอยต์เล็กๆ จะดูชัดเจนอยู่ว่าเป็น ส ไม่ใช่ ล)
  • ชุดตัวเลขไทยของเดิมค่อนข้างเตี้ยและป้าน ถูกแก้ ให้กลมโตดูโปร่งตาขึ้น เลื่อนหัวเลข ๑ เดิมไปชิดเส้นหน้าเป็น ๑. รอยหยักเลข ๓ เดิมถูกรุ่นสูงให้โปร่งเป็น ๓, เลข 5 เดิมทําให้กลมอ้วนขึ้นเป็น 5 (สังเกตหางต้อง ปรับตั้งขึ้นไปเพื่อไม่ให้กินพื้นที่ด้านหน้า ส่วนบน) ฯลฯ

ตัวอักษรโรมันก็เช่นกัน เป็นการนํา Avant Garde มาทําปลายมน. จากนั้นทําให้โล่งขึ้นด้วยการตัดทอนส่วนของเส้นแนวตั้งที่ไม่จําเป็นของตัวพิมพ์เล็ก a, b, d, g, m, n, p, q, r และ u ออก สังเกตตัว a จําเป็นต้องเพิ่มโค้งที่ปลายเส้นดิ่งเล็กน้อยเพื่อ ให้ดูแยกแยะออกจาก o ได้ง่าย และส่วนโค้งบนของ r จะยาวขึ้นจากต้นแบบเดิม เพื่อให้ดูโปร่งสังเกตง่าย. ปลายล่าง ตัว l และ t ถูกเติมโค้งให้ดูนุ่มนวลกลมกลืนกันทั้งชุด. ส่วนตัวพิมพ์ใหญ่ทําให้ดูกันเองมากขึ้นโดยการปรับระดับเส้นนอนกลางลําตัวของ B, E, F. H ที่เคยอยู่ประมาณครึ่งของความสูงให้ลดต่ำลงเป็น B, E, F, H. จุดบรรจบของเส้นทแยงกลางตัว M เดิมเลื่อนจากที่เคยอยู่เส้นฐาน ให้สูงขึ้นเป็น M. ตัว W ก็ถูกปรับแต่งให้โปร่งเป็น W ในทํานองเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนเส้นล่างตรงเป็นโค้งของ บ, อ, ย ฯลฯ, การเพิ่มโค้งเล็กๆ ที่มุมของ ม, น ฯลฯ รวมเข้ากับปลายเส้นอักษรทั้งชุดที่ถูกทําให้มนนั้นบังเอิญไปพ้องรูปกับตัวอักษรแบบล้านนานิดๆ. หรือดูอีกนัยหนึ่ง อักษรใหม่ชุดนี้สลัดความเป็นระบบระเบียบอย่างตัวพิมพ์ฟองน้ําที่เกิดจาก ‘เครื่องมือ’ ไปสู่ตัวพิมพ์ที่เกิดจากการเขียนวาดด้วยน้ํามือมนุษย์ (Humanist Type) มากขึ้น แม้ว่าส่วนโค้งใหม่ๆ ส่วนใหญ่ที่เพิ่มเติมขึ้นจาก DB FongNam จะยังคงเกิดจากรัศมีวงกลม.

ฟอนต์ใหม่ชุดนี้ถูกขยายเป็น 4 น้ําหนัก โดยเปลี่ยนน้ําหนักตัวที่ปรับปรุงจาก Regular และ Bold ของ DB FongNam เดิมเป็น Light และ Medium ตามลําดับ แล้วเพิ่ม Regular กับ Bold เข้าไป. กับงานสิ่งพิมพ์ที่อ่านในระยะใกล้ๆ เมื่อทดสอบพิมพ์ที่ขนาด 16-20 ปอยต์ ดูจะเห็นความแตกต่างจากต้นแบบเดิมค่อนข้างชัด ยิ่งใช้ ในขนาดโตๆ 60 ปอยต์ขึ้นไป เราจะสัมผัสได้ว่าดูอิสระเป็น กันเองขึ้นกว่าเดิม.

เมื่อ “ฟองน้ํา" เปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ รูปทรง จะดูเป็นอิสระ ผ่อนคลาย เช่นเดียวกับฟอนต์ใหม่ที่ได้ออกมา ในที่สุดจะไปรวมกันอยู่บนฟ้า ชื่อที่เหมาะสม สําหรับฟอนต์ใหม่ตัวนี้จึงควรเป็น DB PuiMake

เพราะเมฆเกิดจากน้ํา เช่นเดียวกับ ’ปุยเมฆ’ ที่เกิดจาก ‘ฟองน้ํา’ นั่นเอง

จากคอลัมน์ a font a month
idesign magazine ฉบับ August 2009