DB Adman

เมื่อโลกตะวันตกก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม มีตัวพิมพ์แหวกแนวชุดหนึ่งถือกําเนิดขึ้นโดยฝีมือ Paul Renner ผู้เป็นทั้งนักออกแบบหนังสือและนักเขียน, หน้าตาของตัวพิมพ์ชุดนั้น ดูราวกับเกิดขึ้นจากเครื่องมือเครื่องจักรแห่งอารยธรรม มากกว่าจากน้ํามือมนุษย์ธรรมดาผ่านอุปกรณ์สามัญ เช่น สิ่ว ค้อน, ปากกาคอแร้ง ฯลฯ. รูปลักษณ์อักษรโรมันแบบเดิมๆ ถูกจัดระเบียบใหม่ให้อยู่ในรูปทรงเรขาคณิต มันเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางศิลปะที่ถูกใช้สื่อสารกับสังคมให้เปิดรับความเป็นจริงแห่งยุคสมัย ว่าโลกมันกําลังเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ทั้งกระบวนการผลิต, วิถีชีวิต ตลอดไปจนถึงทัศนะใหม่ต่องานศิลปะ

Paul Renner เริ่มร่างแรกของ Futura ในปี ค.ศ. 1925 และเสร็จเป็นชุดสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1927 นับถึงตอนนี้ 80 กว่าปีแล้ว สุนทรีย์ของ Futura ก็ยังเป็นนิรันดร์, ตลอดเวลาราว 1 ชั่วอายุคนของ Futura ได้ส่งแรงกระเพื่อมต่อๆ ไปเป็นแรงบันดาลใจ นักออกแบบตัวพิมพ์ทั่วโลกทุกชาติภาษารวมทั้งไทย. หลักฐานสําคัญที่แสดงความจริงที่ว่านี้มีอย่างน้อย 2 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นแรกคือแบบตัวอักษรลอก สําคัญ 4 (เส้นบาง) และ สําคัญ 5 (เส้น หนา) โดย สําคัญ โกศัลวัฒน์, ชิ้นที่สองคือ DB Erawan ที่ผมออกแบบให้เข้ากันกับ Futura ExtraBold. สําคัญ 4 และสําคัญ 5 ซึ่งดูจะเป็นแบบอักษรที่ใกล้เคียง Futura ที่สุดนั้น ในเวลาต่อมาได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็น PostScript Font ในชื่อ JS Thanaporn และ JS Boaboon ตามลําดับ. น่าเสียดายที่ความประณีตบรรจงยังไม่สามารถเทียบเคียงได้กับต้นฉบับจริง, อย่างไรก็ตาม JS Thanaporn ยังได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเพราะดูโปร่งอ่านง่าย ส่วน DB Erawan ก็เช่นกัน นอกจากจะดูกลมเกลี้ยงอย่าง Futura แล้ว ยังคงเป็นฟอนต์ที่แม้จะหนาอย่างที่สุด แล้วก็ยังอ่านง่ายอยู่ จึงคงนิยมใช้กันต่อๆ มา

แม้ว่า DB Erawan จะถูกปรับปรุงเข้ารหัสแบบ Unicode เรียบร้อยแล้วในปี พ.ศ.2549 ก็ยังคงมีเพียงน้ําหนักเดียว จึงยัง ไม่มีฟอนต์ไทยเสมือน Futura ที่มีครอบครัวใหญ่พอจะจัดเป็นมาตรฐานได้, ช่องว่างที่ผมสังเกตเห็นนี้ในที่สุดได้ถูกเติมเต็ม ด้วยฟอนต์ DB Adman.

ในการออกแบบ DB Adman ผมมิได้เคร่งครัดกับความเป็น Futura จนเกินไป มีการเปิดช่องว่างไว้เพื่อปรุงแต่งสิ่งใหม่เข้าไปบ้าง. ทําไปทํามาแม้แต่ Futura เดิมเองก็ยังถูกปรับปรุงสัดส่วนให้เข้ากับตัวไทยที่เสร็จแล้ว ดังจะได้กล่าวในตอนท้าย

นอกจากจะต้องยึดรูปทรงเรขาคณิตแบบ Futura เป็นตุ๊กตาแล้ว สิ่งที่ผมคํานึงถึงอยู่เสมอก็คือเรื่องการอ่าน, ผมเชื่อว่าตัว เสมือนหรือตัวเฉียดๆ Futura ที่จะเกิดขึ้น อย่างไรเสียก็เป็นตัวพิมพ์ที่เหมาะจะใช้ในการพาดหัวในขนาดโตพอประมาณ. ถ้าจะใช้เป็นตัวเกริ่นนําหรือตัวโปรยในปริมาณไม่มากก็ย่อมอนุโลมได้ แต่ไม่ควรใช้ในขนาดที่เล็กจนเกินไป. จึงน่าจะเป็นการดีถ้าการ ออกแบบ DB Adman จะได้คํานึงถึงตัวเนื้อรูปทรงเรขาคณิตไว้บ้าง, ตัวเนื้อที่เหมาะสมจะใช้ร่วมกันในกรณีงานโฆษณาที่ต้องลง เนื้อหารายละเอียดค่อนข้างมาก หรือกรณีออกแบบหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รายงานประจําปี ไปจนถึงแผ่นพับ ฯลฯ. ด้วยวิธีคิดแบบนี้ผมจึงให้ความสนใจไปที่ DB FongNam ตัวเนื้อที่กลมกลืน กับ Avant Garde ญาติของ Futura มากกว่า DB Erawan ตัว ดิสเพลย์ที่เป็นเงาอย่างหนาของ Futura โดยตรง

ระหว่างลงมือร่างผมจึงตั้งคําถามกับตัวเองว่า ทําไม Futura ภาคภาษาไทย ถึงต้องมีตัว ก เป็นรูป U คว่ำเกลี้ยงๆ แบบ Sumkan 4 หรือ DB Erawan? ถ้าใช้สํานวนยอดฮิตตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาก็ต้องพูดว่า "มันจะเป็นจะตายหรือไง ถ้าตัว ก จะมีปาก! ?" พอได้ลองดูก็ไม่เห็นมันจะเป็นจะตาย (เพราะเป็นปากไก่ ไม่ใช่ปากปลาหมอ) ผมร่างตัว ก และอักษร คล้าย ก ทุกตัว (ถ, ภ, ฌ ญ ฎ ฏ ณ ฯลฯ) ให้มีปากเป็นเส้นทะแยงมุมไปรับเส้นโค้งบนเหมือน ก ของ DB FongNam, ตัว ถ ที่มีปากชัดเจนแบบนี้ช่วยให้มันดูไม่สับสนว่าเป็นตัว ด (เหมือน ถ, ด ของ Sumkan 4 ซึ่งอาจดูสับสนกันได้)

แผ่นอักษรลอก สำคัญ 4 และ สำคัญ 5 (ขนาดตัวสูง 5 มม.) ตัว ด อาจดูสับสนเป็น ถ ได้ เพราะคล้าย ก เติมหัว และ ถ ดูคล้าย ด มาก อาจสับสนเมืื่อเป็นฟอนต์ JS Thanaporn ที่ใช้ในขนาดเล็กกว่า 5 มม.
  • ง, จ แทนที่จะเหมือนของ DB Erawan ผมกลับเลือกเอาของ DB FongNam มา. ผลคือทําให้ตัว ง. จ. อ ของ Adman แยกแยะออกจากกันอย่างเด่นชัด และเพราะ 3 ตัวนี้มี ความถี่ในการใช้งานสูง จึงช่วยให้ภาพรวมของข้อความที่พิมพ์ขึ้นมาด้วยฟอนต์นี้อ่านง่าย. โดยสรุปแล้วการที่ผมเลือกเอาตัว ก, ง. จ ของ DB FongNam มาปัดฝุ่นใช้ใหม่ เสมือนเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว คือได้ทั้ง DB FongNam มาเข้าก๊วนเป็นตัวเนื้อ แถมยังได้แก้ปัญหาคู่สับสนมีผลให้อ่านง่ายขึ้น
  • ผ, ฝ มีหัวที่โค้งเข้าตัวตามเข็มนาฬิกา (จากเลข 9 ถึง 12) ทําให้ ดูไม่สับสนกับตัว พ, ฟ.
  • มีจุดเด่นคือลักษณะขมวดม้วนต่อเนื่องกับเส้นหน้าเป็นรูป S-curve (กลับด้าน) เป็นการเชื่อมต่อของวงกลม 2 วงโดยไม่มีการสะดุด
  • การเพิ่มรอยหยักด้วยเส้นทะแยงสั้นๆ เข้าออก ทําให้สามารถมาบรรจบกันกับเส้นล่างที่กลมเกลี้ยงแบบฐานตัว บ ได้
  • ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า จากหัวที่โค้งเข้าหาเส้นหลังล้วน มีรัศมีความโค้งใกล้เคียงกัน ล้อกับรัศมีความโค้งของเส้น บนพอดี, เคล็ดลับที่ทําเช่นนี้ได้ (โดยยังคงสามารถรักษา สัดส่วนให้สัมพันธ์กับรูปอักษรอื่นๆ ทั้งชุดได้นั้น) อยู่ที่การ ตัดปลายหัว ในแนวทะแยงเข้าหาจุดศูนย์กลางความโค้ง ทั้งนี้มีการแก้ดวงตาโดยปล่อยให้ส่วนล่างสุดของหัวเลยตำ่ลงไปจากเส้นฐาน (baseline) เล็กน้อย

เมื่อรวมกันเข้ากับการเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น หัวไม้โทแบบเลข 2 ที่ตัดปลายหัวในแนวทะแยง หรือการันต์ รูปตัว J ฯลฯ ช่วยทําให้ DB Adman กลายเป็นตัวแทนสุนทรีย์ของวิถีชีวิตใหม่ที่มีเอกลักษณ์, ชุดอักษรโรมันของ Futura มีช่วง ascender ยาวขึ้นไปเท่าความสูงตัวตามทําให้ดูค่อนข้างรุ่มร่าม ไปสําหรับตัวอักษรไทยใน DB Adman. ความสูงของตัวอักษรนําของ Futura เดิมมากเป็น 2 เท่าของตัวอักษรตาม ถ้าเรานําสัดส่วนเดิมๆ มาย่อเพื่อให้ตัวเลข (ซึ่งสูงเท่าตัวอักษรนํา) ดูเหมาะสมกับความสูงตัวพยัญชนะไทย เราจะได้ตัวอักษรตามที่เล็กเกินไป. ปัญหาทั้งหมดที่พบใน Futura ได้รับการแก้ไข รวมไปจนถึงปลายตัวอักษรโรมันเดิมที่แหลมจัด (เช่น A, N) ที่ดูไม่ค่อยเข้ากับชุดภาษาไทย ก็ถูกเฉือนทิ้งไปเล็กน้อยไม่ให้เป็นที่สังเกตเห็นได้ชัด

DB Adman ทั้ง 4 น้ําหนักคือ UltraLight, Light, Regular, Bold ถูกนําไปเติมเส้นตรงในแนวตั้งและตั้งชื่อใหม่ให้สอดคล้อง ว่า DB BrandVoice (วิธีนี้ยังคงรักษาความกลมไว้ได้ ต่างจาก Futura Condensed ที่ตัว O จะดูเป็นวงรี), DB Adman จากน้ําหนัก Light ขึ้นไปถูกนําไปตกแต่งปลายให้มน เป็น DB Adman Rounded. ไม่เพียงเท่านั้น ยังมี DB Adman Sprayed ที่ตัดแต่ง จาก DB Adman Bold เพิ่มขึ้นมาให้นักออกแบบได้ใช้อย่างจุใจ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถใช้ครอบครัว Adman ร่วมกันไปแบบครอบจักรวาลได้ ถ้าจะใช้ตัวเล็กๆ 14-18 พอยต์เป็น text ให้อ่านนานๆ ควรเปลี่ยนไปใช้บริการของ DB FongNam. (ดูตัวอย่าง ได้จาก Mag Ad. ของ รมย์รวินท์คลินิก, นิตยสารบ้านและสวน Center Point, และ a font a month ที่คุณกําลังอ่านอยู่นี้)

ในทางกลับกัน ใครก็ตามที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของ DB FongNam, DB Soda, หรือฟอนต์ตัวเนื้อค่ายอื่นๆ ที่มีรูปทรง เรขาคณิตเหมือนๆ กันก็ตาม, การมี DB Adman รวมทั้ง DB BrandVoice ใช้ร่วมกันให้ครบเครื่อง น่าจะเป็นการช่วยส่งสําเนียงของแบรนด์ออกมาอย่างมีสุนทรีย์... สุนทรีย์ของวิถีชีวิตใหม่ ที่สร้างจากเครื่องมือแห่งอารยธรรมใหม่ที่ชื่อว่า FontLab


ไม่ใช่จากน้ํามือมนุษย์ธรรมดาอย่างผม.

จากคอลัมน์ a font a month
idesign magazine ฉบับ October 2008