DB Ozone

DB Ozone เป็นฟอนต์ดิสเพลย์ไทย สไตล์โรมันที่ได้รับ DNA มาจากฟอนต์ DIN (Deutsche Industrial Norm), ลักษณะสําคัญ ของ DIN ที่ตกทอดมาถึง DB 0zone ที่เห็นได้อย่างเด่นชัด 2 ประการ คือ การเดินเส้นแบบเรขาคณิต และช่องไฟที่โปร่ง. สิ่งท้ายทาย ของงานออกแบบตัวพิมพ์ชุดนี้คือ ทําอย่างไรจะคงความ “น้อย” ของฟอนต์ DIN ไว้ให้มากที่สุด โดยไม่สูญเสียประสิทธิภาพในการอ่าน ดังเช่นที่ DIN ทําสําเร็จจนสามารถครองใจนักออกแบบทั่วโลกมาตราบทุกวันนี้

ผมเคยได้ยินคนจากค่ายเพลงพูดถึงเวลาออกอัลบั้มใหม่ เพลงไหนคิดว่าท่าจะดัง จะทํา MV โปรโมท 10 สุดฤทธิ์ เอาเข้าจริงบางทีกลับไปดังเพลงอื่น! การออกแบบฟอนต์ออกมาขายสัก อัลบั้ม" หนึ่งก็เช่นกัน ไปคิด แทนคนใช้ฟอนต์ว่าตัวโน้นตัวนี้จะฮิตคงไม่ได้

การจะสร้างตัวดิสเพลย์ไทยมาตรฐานขึ้นมาใหม่ให้สามารถ ใช้ได้กว้างในหลายๆ โอกาสนั้น มีสิ่งที่ต้องคํานึงถึงมากมาย นอกจากหน้าตาของตัวพิมพ์แต่ละตัวควรจะจดจําได้ง่ายว่าเป็น ตัวอะไร (ไม่ต้องอาศัยตัวแวดล้อมทั้งคําเพื่อเดา) แล้ว เมื่อ ประกอบเข้าเป็นคํา, วลี ก็ควรดูไม่กระโดกกระเดก, เป็นประ โยคยาวๆ ยังดูราบรื่นตา. อย่างนี้จัดเป็นตัวพาดหัวมาตรฐานได้, สิ่งที่พูดฟังดูเหมือนง่าย แต่เวลาลงมือออกแบบจริงๆ มีรายละเอียดมากมายที่ต้องคํานึง. โดยส่วนใหญ่ทําไป เพ่งพินิจไป แก้ไป จนกว่าจะพอใจสุดๆ แล้วถึงยอมปล่อยออกไป. เอาเข้าจริงมันจะได้รับความนิยมหรือเปล่า คนเอาฟอนต์ไปใช้คือผู้ตัดสิน (ไม่ใช่คนออกแบบฟอนต์!)

DIN จัดว่าเป็นทั้งตัว display และ text มาตรฐานของฝรั่ง จึงน่าจะเป็นต้นแบบที่ดีของการสร้างตัวพาดหัวภาษาไทย มาตรฐานขึ้นมาสักชุด, เสน่ห์ของ DIN อยู่ที่ "ความสะอาด" ซึ่ง เป็นผลจากน้ําหนักเส้นแบบสม่ําเสมอ, รูปทรงเรขาคณิต และ ช่องไฟที่โปร่งเป็นพิเศษนั่นเอง

25 วิธีคลายโลกร้อน Layout หน้าคู่จาก "24 วิธีคลายโลกร้อน” บทความพิเศษในหนังสือสารคดีฉบับขึ้นปีที่ 24 ใช้ฟอนต์พาดหัวที่ประหยัดพลังงาน (ในการสื่อสาร) เป็นวิธีที่ 25.

ในการปรับปรุงตัวโรมันเป็นภาษาไทยนั้น โดยปรกติเราจะ พิจารณากันที่ตัวพิมพ์เล็ก (เพราะมีส่วนใกล้เคียงตัวพยัญชนะไทยมากกว่าตัวพิมพ์ใหญ่), เพื่อทําความรู้จักกับ DIN เราต้องลองเปรียบเทียบมันกับตัวพิมพ์ประเภทไม่มีขา (sans serif) ด้วยกันดู, เมื่อเทียบ a, t ของ DIN กับ Univers ดูจะใกล้เคียง กัน แต่ถ้าดูลักษณะโค้งครึ่งวงกลมที่เห็นอยู่โดยทั่วไปในชุด ตัวพิมพ์เล็กของ DIN จะค่อนไปทาง Avant Garde มากกว่า วิเคราะห์แล้วจะพบว่า DIN นั้นอยู่ตรงกลางระหว่าง "มาตรฐาน" ที่ตกทอดมาจากฟอนต์ยุคเก่า (ดูภาพเปรียบเทียบ , t ของ Casion, Univers และ DIN) กับความทันสมัยของตัวพิมพ์ทรง เรขาคณิต (เช่น Futura, Avant Garde) ที่ผ่าน "เครื่องมือ" (ใน ยุคนั้น คือ ไม้บรรทัด, วงเวียน ฯลฯ) มากกว่าการวาดตัวพิมพ์ ผ่าน "มือเปล่า" โดยตรง, ความเป็นมาตรฐานทําให้ DIN (ซึ่ง มีส่วนคล้าย Univers) อ่านง่ายกว่า Avant Garde. ถ้าสังเกต ตัวพิมพ์เล็กของ DIN หลายตัว เช่น b, d, s, 0, p, q มีลักษณะ คล้ายเอาของ Avant Garde มาผ่าครึ่งแนวนอนแล้วเติมเส้นตรง เข้าไป. DIN จึงผอมกว่า Avant Garde ผู้ออกแบบได้ชดเชยด้วย ช่องไฟที่หลวมเป็นพิเศษ ให้ผู้อ่านสามารถแยกแยะแต่ละตัวพิมพ์ออกจากกันได้สะดวกขึ้น

ยิ่งชัดเจน ยิ่งเข้าใจ แคมเปญ CAT CDMA ชุด 'Clear" ที่ Ogilvy & Mather เข้าใจเล่นแรงกับกระแสความเบื่อหน่ายต่อความขัดแย้งในสังคมไทย ฟอนต์ที่ใช้ super ตอนท้ายจึงต้องพิถีพิถัน อ่านไม่ชัดไม่ได้

ก่อนทําความรู้จักกับ DIN จนเป็นที่คุ้นเคยดังที่กล่าวมา ผม ได้เคยลองเฝ้าสังเกตดูแล้ว ว่ามีฟอนต์ไทยตัวไหนหน้าตาเป็นญาติสนิทกับ DIN บ้าง ก็พบว่ายังไม่มีให้เห็น จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะลงมือ. ผมไม่ลังเลเลยที่จะนํา "ความเป็นมาตรฐาน" ของ DB Sathorn (ที่ถูกพิสูจน์สายตามานานจนคุ้นเคย) มาใช้ กับฟอนต์เสมือน DIN. เพียงแต่ต้องเคร่งครัดลักษณะเส้นโค้ง เรขาคณิตที่มีน้ําหนักเส้นดูสม่ำเสมอไว้ให้มั่นคง. การพยายามรักษาความโปร่งของ DIN ไว้ในภาคภาษาไทย ไม่ใช่แค่เพียงใช้ช่องไฟโปร่งๆ เท่านั้น หากยังต้องคงรายละเอียดไปถึงการเลือกลักษณะรูปอักษรทุกตัวที่มีผลต่อความทึบ เช่น เลือกตัว ค, ต ประเภทที่ลดทอนส่วนหัว (ไม่มีเส้นคอทะแยงอย่างตัวเนื้อปรกติ) และแม้แต่ตัว ง, จ ก็ใช้หลักการทําให้ (เห็น) น้อยที่สุด. ตัวที่ดูจะเป็นปัญหาที่สุดน่าจะเป็น พ, ฟ, ฬ ว่าจะเอาแบบเป็นเส้น แนวดิ่ง 3 เส้นต่อโค้งที่ฐานดี หรือจะเอาแบบเส้นทะแยงต่อกันเป็นฟันปลาดี, แบบเส้นแนวดิ่งนั้น ถ้าจะทําให้ดูโปร่ง ระยะห่างระหว่างเส้นต้องมากพอ (ไม่เช่นนั้นจะมีผลต่อการทําตัว Bold) แต่ถ้าให้เส้นห่าง เราจะได้ พ, ฟ, ฬ ที่ดูกว้างเกินไป ไม่เข้ากับ DIN ต้นแบบที่ค่อนไปทางผอม. ลงท้ายต้องเลือก พ, ฟ, ฬ แบบ เส้นทะแยง โดยขยับให้ปลายเส้นหน้าและหลังเข้าหาแนวดิ่งเล็กน้อย เพื่อไม่ให้หาง ฟ, ฬ กินที่กว้างเกินไป. ส่วน ผ, ฝ ตั้งใจให้ ดูแตกต่างกันอย่างชัดเจนโดยการนําตัว ต (ที่ถูกจัดระเบียบเส้น หน้าให้เหยียดตรงในแนวดิ่ง) กลับตีลังกาขึ้นมาใช้

ความหลวมของช่องไฟถือเป็นข้อดีที่เปิดโอกาสให้ตัว | ของ DIN สามารถงอกปลายโค้งออกมาเล็กน้อยเพื่อแยกออกจากตัว 1 ได้ง่าย คุณลักษณะเด่นของ ได้ถูกถ่ายทอดลงบนหัวสระหน้า ทุกตัว และเกิดประโยชน์ต่อการอ่านได้เช่นเดียวกัน

ตัวโรมันของ DIN น้ําหนัก Regular ที่ถูกใช้เป็นต้นแบบนั้น บางตัวเช่น a ถูกแก้ไขอาการสะดุดเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วงปลายด้าน บนของมัน ก่อนจะเอามาทําตัว ล, ส. ชุดตัวโรมันที่จะใช้ร่วมกับ "ตัวไทยเสมือน DIN" นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นการปรับสัดส่วนของ DIN เสียใหม่ให้เข้ากับชุดตัวภาษาไทยที่พึงพอใจแล้วมากขึ้น ทั้งการเพิ่มความกว้างให้กับตัวพิมพ์เล็กหลายๆ ตัว ไปจนถึงการย่อ ลดขนาดตัวพิมพ์ใหญ่และเลขอารบิกให้ต่ํากว่า ascender (หาง ของ b,d, h, k, 1) เล็กน้อย เพื่อไม่ให้ดูใหญ่ข่มตัวพิมพ์ไทยเวลาใช้พิมพ์คละร่วมกัน

Contrast เพื่อสร้างความเปรียบต่างให้ชุดตัวพิมพ์ซึ่งมีรูปอักษรส่วนใหญ่ ประกอบขึ้นด้วยเส้นตรงแนวดิ่งและโค้งแนวระดับ, ตัว ห ซึ่งมีที่ใช้มาก ในภาษาไทย (รวมทั้งตัว ๆ ที่ใช้น้อยมาก) เลือกเน้นให้เส้นทะแยง เห็นชัด, เช่นเดียวกับตัว ช ซ (ซึ่งมีที่ใช้มากพอสมควร) ที่พยายามจัดเส้นทะแยงซึ่งเชื่อมระหว่างขมวดม้วนกับเส้นหน้าให้ได้แนวใกล้เคียง กับแนวเฉียงของส่วนหาง
เคียงข้างทุกจังหวะชีวิต คนที่จะอยู่เคียงคู่เราไปตลอดต้องน่าเชื่อถือ จริงใจ เข้าใจง่าย เช่นเดียวกับฟอนต์ที่ถูกเลือกใช้เป็น baseline ของ Ayudhya Allianz CP
Smart Font ซ้ายมือ DB Ozone (PostScript) ระดับไม้เอกตัวสูงบนสระอิและอี มีอยู่ตัวเดียวให้ใช้ร่วมกัน ไม้เอกบน "หิ่ง" จึงยื่นสูงห่างโดยไม่จําเป็น เปรียบเทียบกับขวามือ DBOzoneX(Opentype) ฟอนต์ เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด เมื่อพิมพ์ไม้เอกตามหลังสระอิ สามารถเขียนคําสั่งให้ไปเลือกไม้เอก ตัวที่ห้อยต่ํา (กว่าตัวที่อยู่บนสระอี อี อี) ลงเล็กน้อย ซึ่ง Smart กว่า

เมื่อเสร็จน้ําหนักแรก ผลลัพธ์คือความปลอดโปร่ง. ชื่อ "DB Ozone" ถูกตั้งขึ้นจากความรู้สึกนี้ มันถูกนําไปขยายสมาชิก ครอบครัวเพิ่มเป็น 5 น้ําหนัก เพื่อใช้งานได้สะดวก โดยเฉพาะ น้ําหนักที่บางลง 2 ระดับนั้นเป็นการตอบสนองแนวโน้มการออกแบบที่ชื่นชอบตัวบางเบามากขึ้น ความเรียบง่ายของ DB Ozone ถูกใช้เป็นตัวแทนความทันสมัยของคนวัยทํางานทั้งชาย (ปก GM บนแผงหนังสือ) และหญิง (ปกและเนื้อใน SHE's Smart, free magazine ในร้าน Black Canyon ฯลฯ), ความชัดเจนของ มันถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของเครือข่ายสื่อสารที่ดีในหนังโฆษณา ชุด "Clear" (ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม), และด้วยความ โปร่งใสตรงไปตรงมาของ DB Ozone จึงน่าจะเป็นมิตรของคน ไทยส่วนใหญ่จนสามารถ "เคียงข้างทุกจังหวะชีวิต" (แคมเปญ ของ Ayudhya Allianz CP), ความทุ่มเทอย่างหนักหลายเดือน กว่าที่ DBOzone จะคลอดออกมานั้นมาจากความมุ่งมั่นให้มัน " เคียงข้างทุกจังหวะดีไซน์" โดยอาศัยรูปลักษณ์ที่สามารถตีความ ได้กว้างเพราะมันดูกลางๆ ไม่จัดจ้านนั่นเอง

เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ในยุคซึ่งข้อมูลข่าวสาร (ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและการให้ทัศนะเชิงวิเคราะห์ ฯลฯ) มีให้ดูให้อ่าน มากมาย, สื่อและเครื่องมือสื่อสารดีๆ ก็มีเต็มไปหมด แต่ดูเหมือนผู้คนจะมีเวลาให้กับมันน้อยลง. ตราบใดที่คนไทยจํานวน มากยังคร้านที่จะแสวงหาข้อมูล (ทั้งดู, ฟัง โดยเฉพาะการอ่าน) และลงท้ายด้วยการใช้ "ความเชื่อ" ตัดสินผิดถูกแทน "ความจริง" ที่ว่าไปตามหลักเหตุผล ตราบนั้นความวิบัติแตกเป็นเสี่ยง ไปทั้งชาติคงเป็นเรื่องหนีไม่พ้น...

กี่ล้านสื่อ กี่ร้อยโอโซน ก็เอาไม่อยู่ครับ !

จากคอลัมน์ a font a month
idesign magazine ฉบับ May 2008