DB NamSmai

รากเหง้าจริงๆ ของ DB NamSmai มาจากแบบตัวเรียงพิมพ์ตะกั่วที่มีความสําคัญมากชุดหนึ่งของไทย ในฐานะตัวพิมพ์เนื้อชุดแรกที่มีเส้นหนักเบาอย่างตัวพิมพ์โรมัน, ตัวพิมพ์ที่ว่านี้คือ ‘ฝรั่งเศส’ หรือที่นิยมเรียกตามชื่อย่อว่า ‘ฝ.ศ.’ ตัวพิมพ์ ‘ฝ.ศ.’ ถูกสร้างขึ้นภายใต้การดูแลของ หลุยส์ รอมิเออ ผู้จัดการโรงพิมพ์อัสสัมชัญในปี พ.ศ.2456. ชื่อ ‘ฝรั่งเศส’ นั้นอาจมีที่มาจากการที่แม่ทองแดงที่ใช้หล่อตัวพิมพ์ทําจากฝรั่งเศส หรืออาจเป็นเพราะคณะผู้ออกแบบเป็นชาวฝรั่งเศสก็เป็นไปได้ เนื่องจากตัว ฝ.ศ. ปรากฏหลักฐานใช้งานครั้งแรกในวารสารโรงเรียนอัสสัมชัญ ชื่อ ‘อุโฆษสมัย’ ฉบับปี พ.ศ.2457 จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง (เพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นฝรั่ง?) ว่าตัว ‘อุโฆษ’

ฝรั่งเศส ตัวเรียง ฝ.ศ. ขนาด 16 ปอยต์ ถ่ายเท่าแบบ (จากหนังสือแบบตัวพิมพ์ของศรีอักษร ขนาด 18.5 cm. x 25.5 cm.) ลักษณะ
ไม่แตกต่างจาก ฝ.ศ. ต้นตํารับที่ออกแบบตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 หรือ ค.ศ.1913 หลัง Bodoni เสียชีวิตไปแล้วถึง 100 ปี

ความสําเร็จอย่างสูงของตัว ฝ.ศ. หรืออุโฆษนั้น คือสามารถขจัดปัญหาตัวพิมพ์ไทยบางคู่ที่เคยดูสับสนกันให้สามารถดูแยกแยะออกจากกันได้ง่าย แม้จะถูกใช้งานในขนาดที่เล็กลงไปได้เรื่อย ๆ ตามพัฒนาการของเทคโนโลยีการพิมพ์ และการเรียงตัวพิมพ์ อีกทั้งยังมีความริเริ่มใหม่ๆ ที่นําสมัยกว่าตัวพิมพ์ในยุคเดียวกันซ่อนอยู่มากมาย

ช่วงที่ผมเริ่มหัดออกแบบฟอนต์ตัวเนื้อไทยยุคแรกๆ ที่เป็น PostScript นั้น มีโอกาสได้ศึกษาวิเคราะห์ตัว ฝ.ศ. ด้วยตัวเองอย่างละเอียด และสรุปว่า ฝ.ศ. ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์สําหรับผมเลยทีเดียว เพราะว่ามันไม่ใช่แค่ชุดตัวพิมพ์ที่ดูกลมกลืนเข้ากันได้ดีกับตัวพิมพ์โรมัน เช่น Times อันเป็นเพียงความสําเร็จด้านรูปแบบ (ที่แหวกตัวออกไปจากตัวเนื้อไทยก่อนหน้า ซึ่งได้อิทธิพลจากอักษรเส้นสม่ำเสมอบนใบลาน) เท่านั้น หากแต่ว่ายังประสบความสําเร็จด้านประโยชน์ใช้สอยในการสื่อสารด้วยทั้งในแง่ภาษาพูดและภาษา ภาพ. อธิบายได้ว่าผู้ออกแบบไม่ได้หลับหูหลับตาเลียนแบบอักษรโรมันจนลืมหน้าที่สําคัญในการเป็นตัวเนื้อของมัน นั่นคือ ต้องให้คนไทยอ่านได้ง่าย (แทนเสียงพูดจากคนเขียนสู่คนอ่าน) และดูมีระบบระเบียบน่าเชื่อถือ (แทนภาพลักษณ์ที่สัมผัสได้ด้วยตาสู่ใจ) เส้นขีดตรงแนวนอนที่ปากตัว ก (น่าจะได้อิทธิพลเส้นนอนน้ําหนัก บางของตัว e หรือ f มา) สามารถปฏิวัติปาก ก แบบเดิมๆ ซึ่งเป็นเส้นหยักทะแยงไปโดยสิ้นเชิงและกลายเป็นหนึ่งในลักษณะเด่นที่จําง่ายของชุดตัวพิมพ์ (มีรูปอักษรคล้าย ก อยู่ถึง 9 ตัว คือ ณ, ญ. ฎ ฏ, ณ, ถ, ภ, ฤ, ฦ) ตัว ผมเข้าใจว่าในร่างแรกๆ ของผู้ออกแบบคงมีฐานล่างโค้งเหมือน แล้วกลับพบว่าทรงตัวไม่ค่อยดี (หัวหนักซ้าย, หางหนักขวา แต่ฐานแคบมน) จึงแก้ ช เป็นฐานแบบราบแล้วเติมกิ่งช่วยทรงตัวไม่ให้หัวทิ่มอีกชั้นหนึ่ง, ทําให้นอกจากจะสร้างสมดุลอักษรได้แล้วยังช่วยให้ไม่สับสนกับ ข เพราะดูแตกต่างกันมาก (ไม่ใช่แค่เพียงมีหางไม่มีหาง). ตัว นั้นถือเป็นความกล้า หาญที่น่ายกย่องมาก ถ้าคนออกแบบไม่สลัดวิธีการเขียนอย่างไทยออกจากหัว ตัว ของ ฝ.ศ. ก็คงไม่แตกต่างจาก อย่างที่เห็น. ตัว ด ของ ฝ.ศ. นั้นไม่หนีวิธีการเขียนแบบดั้งเดิมสักเท่าไร เพราะยังมีเส้นคอ (ต่อจากหัวอักษร) ทะแยงให้เห็นอยู่. ต่างจาก ที่ทั้งเส้นหน้าและเส้นคอของมันถูกลดรูปเชื่อมเข้าหากันเหลือเป็นเพียงเส้นตั้ง แต่สามารถอธิบายความเป็น อย่างชาญฉลาดได้ด้วยการต่อเส้นบนโค้งออกไปจากเส้นหน้าไปบรรจบเส้นหลัง (เข้าใจว่าได้อิทธิพลมาจากตัว ก เพราะมีส่วนคล้ายกัน) ทําให้หน้าตาของเด็กต่างจากควายอย่างชัดเจน! ตัว ที่มาจาก + นั้น เวลาเป็น ฐ มีเชิงแล้วหน้าตาก็ไม่เหมือนใครอีกต่อไป รอยหยักที่เชิง ของ ฝ.ศ. จึงถูกตัดสินให้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ. รวมทั้งตัว ซึ่งหางถูกหดซ่อนไว้ภายในลําตัว น่าจะเป็นความตั้งใจไม่ให้ยื่นออกไปเกะกะตัวตะกั่วที่จะเรียงตามมา ทําให้ช่องไฟดูดีขึ้น.

จากตัวอย่างข้อสังเกตที่ผมกล่าวมาแล้ว จะเห็นว่าผู้ออกแบบได้ทําการเพิ่มในส่วนที่จําเป็น และลดในส่วนที่ไม่จําเป็นอย่างมีชั้นเชิง. ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้ออกแบบ ฝ.ศ. ไว้ ถ้าเป็นคนไทยต้องยกย่องท่านเป็นอัจฉริยะของชาติ แต่ถ้าเป็นคนฝรั่งเศสโดยเฉพาะถ้าเป็นหลุยส์ รอมิเออ ซึ่งเคยผ่านการฝึกวิชาการพิมพ์จากฝรั่งเศสมาก่อนก็นับว่ามีความเป็นไปได้สูงมากเช่นกัน ไม่ว่าจะลงมือเองหรือฐานะผู้กํากับศิลป์ โดยมีคนไทยเป็นคนร่างแบบ) เพราะรูปอักษรหลายตัวไม่ว่าจะเป็น ก, ช, ค หรือ ฯลฯ กล่าว ได้ว่าล้วนเกิดมาจากหลักคิดที่จะสร้างตัวพิมพ์ที่ดี แม้จะเป็นกบฏต่อลายมือเขียนซึ่งนักออกแบบหรือผู้กํากับศิลป์ชาวฝรั่งเศสไม่คุ้นเคยมันอยู่แล้ว.

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว DB Narai ลูกหลานของ ฝ.ศ. ซึ่งเป็นฟอนต์ PostScript ยุคต้นๆ ของผมจึงปรับเปลี่ยนไปได้เพียงเล็กน้อยมาก เช่น ตัว ก ได้เพิ่มโค้งเล็กน้อยเชื่อมต่อปลายเส้นหน้าเข้าหาขีดเส้นนอนที่เป็นปาก. ปลายเส้นหลังของ ก, ถ, ภ ที่เคยตัดเฉียง เปลี่ยนเป็นตัดตามนอนเสมอเส้นฐานเพื่อให้เป็นตัวดิสเพลย์ขนาดใหญ่ที่ดูดีไม่กระโดกกระเดก. ตัว ถูกปรับให้เส้นขมวดม้วนจากเส้นหน้าชนทํามุมแหลมกับเส้นหลังที่ฐานแทนการตวัดโค้งขึ้นเชื่อมเส้นหลังอย่าง ฝ.ศ. เพื่อให้ดูเข้มแข็งขึ้นเป็นต้น ชื่อ “นารายณ์ ถูกตั้งขึ้นโดย สุรพล เวสารัชเวศย์ เพื่อผมเอง เพื่อให้โยงกับคํา “ฝรั่งเศส” (ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คนฝรั่งเศส เข้ามาเมืองไทยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช), สําหรับผมแล้วยังเชิดชู ฝ.ศ. ที่เหมือนถูกลิขิตให้มีไว้รักษาสืบทอดจนแทบไม่เหลืออะไรให้ผมปรับปรุง เสมือนพระนารายณ์อวตารลงมาเกิด เลยทีเดียว!

มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่ผมกําลังเปิดหนังสือแบบตัวอักษรลอก เก่าๆ ดูหาไอเดียก็เห็นตัวอักษรอยู่ชุดหนึ่ง ชื่อ Modern มีลักษณะเด่นคือ รูปอักษรแต่ละตัวมีน้ําหนักเส้นแตกต่างกันมาก เส้นแนวตั้งหนาจัด ส่วนเส้นแนวนอนกลับบางเฉียบเป็น hairline, แทนที่ผมจะออกแบบตัวพาดหัวไทยแบบไทยเสมือนโรมัน (แบบ DB Erawan ที่ดูคล้าย Futura ExtraBold หรือ DB Sathorn ที่ดู คล้าย Franklin Gothic ฯลฯ ที่เคยทํามาก่อน) ผมกลับคิดในใจว่า คงจะดีไม่น้อยถ้าจะทดลองเอา ฝ.ศ. ตัวเนื้อไทยที่มีเส้นหนักเบาแบบฝรั่งอยู่แล้วมาปัดฝุ่นทําเป็นตัวดิสเพลย์แบบไทยๆ โดยใช้สไตล์ Didone จากตัว Modern ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมอยู่ ในทันใดผมก็เกิดจินตนาการเห็นภาพรวมของมันอยู่ตรงหน้า และรีบ ร่างตัวหลัก ๆ อย่างฉับพลันก่อนภาพในสมองจะลอยหายไป.

ในขั้นตอนที่ร่างอย่างละเอียด แทนที่ผมจะใช้เส้นโค้งแนว เดียวกับ ฝ.ศ. เดิม ผมปรับแต่งใหม่โดยให้ทุกโค้งแทบจะจับจุดศูนย์กลางได้หมดเพื่อให้ง่ายต่อการสร้างใน Fontographer. อธิบายง่ายๆ คือ ถ้าคุณมีเครื่องมือธรรมดาๆ แค่กระดาษสเกล, ปากกา และเพลทวงกลม คุณก็สามารถเขียนเส้นร่างตัวพิมพ์ชุดนี้ได้แล้ว! การแบ่งน้ําหนักเส้นซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ Didone นั้น ทําได้ไม่ยากเลย. ดูจาก DB Narai จะพบว่าตัวพยัญชนะส่วนใหญ่ของมันจะมีทั้งเส้นหน้าและเส้นหลัง (ยกเว้น ง, ร, ว) หลักการง่าย ๆ คือทําเส้นหน้าเส้นหลังให้ทึบ แล้วปล่อยรายละเอียดเส้นอื่นๆ เช่น เส้นบน เส้นล่าง เส้นทะแยง รวมทั้งหัว ขมวดม้วน ฯลฯ ให้เป็นเส้นบางจัดแบบตัว Modern หรือ Bodoni. รายละเอียด ที่น่าสนใจเป็นรายตัวมีดังนี้

  • เส้นนอนของปากไม่มีส่วนยื่นเข้าลําตัวอย่าง ฝ.ศ.เดิม ส่วนขาหลังคงตัดตรงเหมือน DB Narai เพื่อให้ดูเรียบร้อย
  • เส้นหางเปลี่ยนจากลากทะแยงตรงออกไปจากเส้นดิ่งอย่าง ฝ.ศ.เป็นเข้าโค้งตามเข็มนาฬิกาประมาณจากเลข 3 ถึง 8 เพื่อลดความกระด้าง
  • หัวเปิดอย่างตัว ด ของ DB Narai Bold ที่ป้องกันความทึบตันอย่าง ฝ.ศ.เดิม. (ค เปิดหัวคลายออกตามอย่าง ด)
  • เส้นสะบัดบนถูกจัดระเบียบใหม่ ให้ประกอบขึ้นด้วยรัศมีวงกลมหลัก 2 วง.
  • เลื่อนเส้นทะแยงขึ้นไปให้ใกล้หัว เพื่อเปิดกว้างมุมที่ทํากับเส้นหลังให้ดูโปร่งราบรื่น
  • เปลี่ยนเส้นทะแยงให้เป็นโค้งคว่ํารูปครึ่งวงกลมสัมผัสกับขมวดม้วนวงกลม ถือเป็นแนวทางใหม่ของตัว ห ที่ผมเอง ยังไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน

พองานเสร็จออกมา ผมรู้สึกในแว้บแรกที่เห็นว่ามันค่อนไปทางอนุรักษ์นิยมมากกว่าที่จะดู ‘เดิ้น’ ร่วมสมัย จึงตั้งชื่อประชดเล่นๆ ว่า DB NamSmai (คําว่า “นําสมัย” เป็นภาษาเก่า)

อย่างไรก็ตาม นักออกแบบ (หรือใครก็ได้) คงเคยสังเกตเห็นฟอนต์สไตล์ Didone ที่ดังๆ อย่าง Bodoni หรือ Didot ยัง ผงาดอยู่ในงาน BrandMark, Book Design, Packaging หลากหลาย จากแนวงานที่ร่วมสมัยไปจนถึงเชิงอนุรักษ์ สําหรับผมแล้ว DB NamSmai คืองานเชิงทดลองใจนักออกแบบไทยในยุคที่สังคมเราด้านหนึ่งโหยหาอัตลักษณ์ความเป็นไทย ส่วนอีกด้านหนึ่งนิยมใช้แต่ของนอก. วัดใจกันไปเลยว่าถ้าตั้งใจใช้ตัวขนาดโตให้สะใจดูแล้ว มันจะสามารถฉีกความจําเจของตัวดิสเพลย์หน้าฝรั่งที่นิยมใช้กันอยู่มากมายได้แค่ไหน. การใช้งานมันอย่างได้ผลอาจถือเป็นการเรียก ความเคารพรากเหง้าของเราเองให้กลับคืนมาได้

ผมมั่นใจในนักออกแบบไทยยุคนี้ว่าตัวที่ดูโคตร(เป็น)ไทย ก็สามารถใช้เป็นดิสเพลย์ให้งานดูนําสมัยได้

เอกสารอ้างอิง ประชา สุวีรานนท์; 90 ตัวพิมพ์ กับ 90 ยุคสังคมไทย 2545 Will Hill; The Complete Typographer 2005

จากคอลัมน์ a font a month
idesign magazine ฉบับ November 2008