DB CoolLetter

Courier ถูกออกแบบไว้เพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีด ของ IBM ในช่วง 1950s โดย Howard Kettler. ต่อมาเป็นตัวพิมพ์มาตรฐานของ Hollywood ที่ใช้กับบทภาพยนตร์ และยังเคยเป็นตัวพิมพ์มาตรฐานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจนถึงปี ค.ศ.2004. เราจะเห็นได้ว่า ‘ความอ่านง่าย’ ของ Courier ทําให้ มันใช้งานได้อย่างกว้างขวางจากธุรกิจบันเทิงไปจนถึงองค์กรภาครัฐ.

Courier จัดเป็นฟอนต์แบบ slab serif ตัว แรกที่ DB แปลงเป็นภาษาไทย ซึ่งกว่าจะออกมาใช้งาน ได้ก็ต้องรอจนถึง DB#6 (กันยายน 2551) นั่นเป็นเพราะ ว่าก่อนหน้านั้นผมยังมองไม่ทะลุว่า ‘จะเหลือ serif ไว้ ในอักษรไทยแค่ไหนถึงจะดี’ จึงไม่ได้ลงมือทํานั่นเอง

จากการเฝ้าสังเกตฟอนต์แบบ slab serif ที่คนไทยเคยเอามาดัดแปลงเป็นฟอนต์ตัวพาดหัวไทย เช่น ฟอนต์ Memphis ของ Rudolf Wolf ปัญหาที่ผมมักพบก็คือ เมื่อให้ขาหน้า-หลังของตัว ก มี serif แล้ว นักออกแบบมักใช้วิธีตัด serif ของขาหน้า ก ด้านนอกออกเหลือด้านในให้เป็นหัวตัว ถ และทําในทางกลับกันเป็นตัว ภ ซึ่งดูตลกในสายตาผม เพราะ serif ที่ขาหลังทั้ง ถ และ ภ (ซึ่งยังกางออกมาครบทั้ง 2 ด้าน) กลับดูเด่นชัดกว่าหัว! รวมทั้งถ้ายังขืนทําช่องไฟชิดๆ กันก็ยิ่งทําให้มันอ่านยากสับสนแยกแยะกันไม่ค่อยออก ระหว่าง ก, ถ, ภ.

เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว สิ่งแรกที่ผมทําในการร่างแบบ DB CoolLetter คือเลี่ยงมาใช้เส้นโค้งทําหัว ถ และ ภ (และอักษรคล้ายของมัน) แทนการใช้ขีด ขณะเดียวกันก็ลดขนาดความกว้างของขีด serif ทั้งชุดลง ให้แคบกว่าของ Courier เดิม เพื่อไม่ให้ปลายเส้นหลังของ ถ, ภ เด่นเกินหัว. แม้แต่ serif ที่ขาหน้าของตัว ก ก็ถูกลดขนาดลงอีกเล็กน้อยจากขาหลังเพื่อไม่ให้มันดูเด่นเป็นหัวอักษร. คงมีแต่ตัว จ ที่เติม serif ยาวเข้ากลางลําตัวเพื่อให้มันทรงตัวดีขึ้น.

ส่วนปากตัว ก (และอักษรคล้าย ก ทุกตัว) ของ DB CoolLetter ถ้าดูใด้ดีก็คล้ายตัว ก ของ PSL Kittithada ที่เป็นเอกลักษณ์สุดยอดเฉพาะตัว คือได้จากการตัดเส้นตั้งส่วนบนของตัว n ออก เพียงแต่ใน DB CoolLetter ดึงเส้นบนของ ก ขึ้น แล้วต่อปลายด้านซ้ายให้ยาวเลยออกมาเป็นกิ่งเล็กน้อย ให้ล้อกับขา serif และดูเป็นปากตัว ก ได้เด่นชัดขึ้น (เมื่อเป็นตัว ถ จะได้ไม่สับสนกับตัว ด เหมือนปัญหาที่เกิดใน PSL Kittithada)

นอกจากจะใช้เส้นโค้งเป็นหัวของอักษรที่คล้าย ก แล้ว ในอักษรหลายตัวที่หัวมีลักษณะโค้ง (เช่น ข, ค, จ, ค, ผ เป็นต้น) ผมยังเลือกจบหัวด้วยจุดกลมทึบเล็กๆ คล้าย circular terminal ของ Clarendon ที่เป็นฟอนต์แบบ slab serif เช่นกัน. แม้ว่า Courier ต้นแบบจะไม่มี circular terminal ก็ตาม, DB CoolLetter ก็จําเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปบ้างเพื่อให้มัน อ่านง่ายขึ้นนั่นเอง เช่น ผจะดูแยกแยะจาก พ ได้ง่ายมาก เป็นต้น. ลักษณะหัวกลมทึบนี้ช่วยให้สามารถสร้างตัว ง รูปทรงตัว V ได้โดยไม่ต้องสับสนกับตัว ข ที่มีรูป ทรงเป็นตัว V เช่นกัน

ปก “สร้างเสริมประสบการณ์อิงลิช” ของสํานักพิมพ์ a book เอา DB CoolLetter ที่ดูเป็นฝรั่งมาประดิษฐ์ประดอยให้สดใส เหมือน "มาลี" คนเล่าเรื่อง

คู่อักษรที่เคยสับสนกัน เช่น ข-ช นั้น ผมจงใจ ออกแบบให้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยตัว ช นั้น อาศัยวิธีการออกแบบตัว ช ของตัวพิมพ์ ฝ.ศ. โบราณมาปัดฝุ่นใช้ คือเส้นหนาจะตั้งฉากและที่ฐานมีกิ่งด้านซ้าย (คล้าย serif) ขณะที่ตัว ข มีเส้นหน้าหลังสอบทํามุมที่ฐานเป็นตัว V. แม้แต่ ผ-ฝ และ พ-ฟ ก็จงใจให้ดูต่างกันมากๆ โดยให้ ผ, พ พับเป็นหีบเพลงแบบตัว W ขณะ ที่ ฝ, ฟ มีหางตั้งฉากเหยียดตรง. หางที่ต้องมี serif เมื่อจับตั้งตรงแบบนี้จะช่วยลดข้อพิพาทระหว่างหางแบบเอนหลังกับสระบนของพยัญชนะตัวที่พิมพ์ถัดไป (ในกรณีที่ช่องไฟถูกบีบจากการจัดคอลัมน์เสมอหน้าหลัง ฯลฯ).

ตัว ร ได้จากการเอา s ของ Courier มา ปรับปรุงสัดส่วนแล้วตัดขีดแนวตั้งที่อยู่ปลายหางด้านล่างทิ้งเพื่อให้ไม่ไปสับสนกับเส้นหน้าของตัว ธ. ส่วนตัว ธ เพิ่มเส้นหรือกิ่งที่ฐานด้านซ้ายยื่นออกไป (เหมือนตัว ฝ.ศ.) เพื่อให้ดูต่างจากตัว ร ยิ่งขึ้นไปอีก. สระหน้า อย่าง เ, แ ก็เช่นกัน ถูกละ serif บนทิ้งเพื่อไม่ให้มันเด่นเกินหัวข้างล่าง. แต่สระ ไ, โ ยังคงมีขีดด้านบนเล็กน้อยเพื่อเชื่อมโยงกับตัว slab serif และสระ ใ ปรับรูปมาจากเครื่องหมายคําถามของ Courier.

ถ้าใครสังเกต serif ที่ปลายเส้นหลังบนของตัว u ให้ดีจะเห็นว่ามีขีดเข้าลําตัวด้านเดียว ไม่เหมือนใน U ที่มี 2 ด้าน. เพื่อให้ น ดูแตกต่างจากตัว u ผมจึงเปลี่ยนขีดเส้นหลังให้หันออกไปทางขวาแทน. เมื่อกลับด้าน น จะได้ ม ที่ลงตัวด้วย เพราะปลายหางมีขีดด้านเดียว ไม่เด่นเกินหัวของมัน.

ส่วนตัวอักษรโรมันในชุด DB CoolLetter นั้น ผมได้นํา Courier มาปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งความกว้าง รูปอักษร (glyph width) และความกว้างตัวพิมพ์ (character width) เพื่อเปลี่ยนลุคของมันให้ดู Cool ขึ้น. ด้วยข้อจํากัดของเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ดีดยุคโบราณ ทําให้ความกว้างตัวพิมพ์ทุกตัวเท่ากันไปหมด (fixed-width type) ทําให้รูปอักษรบางตัวดูกว้าง ไป เช่น I, l, r, t และบางตัวดูแคบไป เช่น M, m จึง ได้ปรับปรุงสัดส่วนและช่องไฟเสียใหม่ให้เข้ากับตัวพิมพ์ไทยใน DB CoolLetter. แม้แต่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขีดสี่เหลี่ยมบนตัว i และ j ของ Courier เดิม ยังถูกแทนที่ด้วยเม็ดกลมเพื่อเชื่อมโยงกับหัวกลมทึบของตัวภาษาไทยได้ดีขึ้น.

เมื่อรวมกันเข้ากับช่องไฟที่โปร่งสบายตา (ไม่ให้ขา serif มันเหยียบกันเอง!) แล้ว DB CoolLetter จึง Cool สมใจ (ผม) ไม่ว่าจะใช้ในขนาดเล็กใหญ่ ใกล้ไกล ก็ไม่เกี่ยง.

จากคอลัมน์ a font a month
idesign magazine ฉบับ October 2009