Articles
DB Zair
เป็นงานอนุรักษ์แบบตัวพิมพ์ตะกั่วพาดหัวหนังสือพิมพ์ และโฆษณาในเมืองสยาม ที่ชื่อ ‘โป้งแซ’ ผลงานออกแบบและแกะแบบโดย นายแซ ช่างแกะแบบตัวพิมพ์เชื้อสายจีนที่มีฝีมือสูงในยุคนั้น.
DB ToonHua
DB ToonHua เป็นฟอนต์พาดหัวไทยแท้ ที่พัฒนามาจากกรุตัวอักษรเก่าๆ ทั้งที่เป็นแบบตัวเรียงพิมพ์ตะกั่ว ไปจนถึงตัวประดิษฐ์หลอมรวมกันใหม่ โดยอาศัยรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ
DB NamSmai
รากเหง้าจริงๆ ของ DB NamSmai มาจากแบบตัวเรียง พิมพ์ตะกั่วที่มีความสําคัญมากชุดหนึ่งของไทย ในฐานะตัวพิมพ์เนื้อชุดแรกที่มีเส้นหนักเบาอย่างตัวพิมพ์โรมัน, ตัวพิมพ์ที่ว่านี้คือ ‘ฝรั่งเศส’ หรือที่นิยมเรียกตามชื่อย่อว่า ‘ฝ.ศ.’
DB Adman
เมื่อโลกตะวันตกก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม มีตัวพิมพ์แหวกแนวชุดหนึ่งถือกําเนิดขึ้นโดยฝีมือ Paul Renner ผู้เป็นทั้งนักออกแบบหนังสือและนักเขียน, หน้าตาของตัวพิมพ์ชุดนั้น ดูราวกับเกิดขึ้นจากเครื่องมือเครื่องจักรแห่งอารยธรรม
DB ComYard
ตัวอักษรประดิษฐ์ของไทยแบบหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่มีหัวกลม แต่ก็ยังสามารถคงลักษณะจารีตประเพณีไว้ได้เป็นอย่างดี, คือ แบบตัวอักษรซึ่งมีหัวเปิด ขมวดปมกลมๆ ที่ส่วนปลายคล้ายยอดอ่อนของใบเฟิร์น, ลักษณะที่ว่านี้สามารถพบเห็นในแบบตัวพิมพ์ Clarendon ที่ออกแบบโดย Robert Besley ตั้งแต่ปี ค.ศ.1845
DB YeePunJung
ต้องยอมรับว่า นอกจากวัฒนธรรมจีน, ตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาช้านานแล้ว วัฒนธรรมญี่ปุ่นก็ซึมเข้ามาไม่น้อย ทั้งอาหารการกิน, การ์ตูน, แฟชั่น ฯลฯ แต่กลับไม่มีฟอนต์ความยืดหยุ่นสูงคล้ายลักษณะนิสัยของคนไทย
DB Ozone
DB Ozone เป็นฟอนต์ดิสเพลย์ไทย สไตล์โรมันที่ได้รับ DNA มาจากฟอนต์ DIN (Deutsche Industrial Norm), ลักษณะสําคัญ ของ DIN ที่ตกทอดมาถึง DB 0zone ที่เห็นได้อย่างเด่นชัด 2 ประการ คือ การเดินเส้นแบบเรขาคณิต และช่องไฟที่โปร่ง
DB Ramintra
ความกว้างของรูปอักษร (glyph) ให้ความรู้สึกโอ่อ่า ฐานที่กว้างให้ความรู้สึกมั่นคง. รูปทรงจัตุรัสที่เกิดจากเส้นน้ำหนักเดียว (Monoline) ให้ความรู้สึกทันสมัยเรียบง่าย. เมื่อถูกลบมุมช่วยลดความแข็งลง. ถ้าเส้นบางจะเหมือนห้องปลอดโปร่ง ถ้าเส้นหนาจะดูหนักแน่นแข็งแรง. นี่คือความเป็น Eurostile Extended.
DB Sathorn
คือความพยายามของผมที่จะสร้างฟอนต์ตัวพาดหัวไทย ที่สามารถทดแทนตัวอักษรลอกตระกูล Manoptica (มานพติก้า) ซึ่งครองเมืองในยุคที่คอมพิวเตอร์ยังไม่เป็นที่ใช้แพร่หลาย
DB PongPat
เป็นงานอนุรักษ์ฟอนต์เก่า DB PatPong. โดยเนื้อแท้ของคำว่า "อนุรักษ์" นั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องรักษาของเก่าชนิดห้ามกระดิดกระเดี้ยไปจากเดิม การอนุรักษ์ยังหมายรวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปด้วย